การส่งออกพระพุทธรูป ศิลปวัตถุ หรือโบราณวัตถุไปต่างประเทศ
ตามกฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากร พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ หรือโบราณวัตถุถือว่าเป็นของต้องจำกัด หมายถึงของ/สินค้าบางชนิดที่กฎหมายควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรการ ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนกรมศิลปากร และต้องนำมาแสดงในเวลาปฎิบัติพิธีการศุลกากรด้วยในการส่งออก

ข้อแนะนำในการส่งพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร สำหรับบุคคลทั่วไป
1. กรอกแบบฟอร์มเอกสาร การขออนุญาตที่ทางราชการออกให้ (ศก.6)
2. ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการส่งออกโดยละเอียด เช่น ต้องการส่งออกเพราะเหตุผลใด ที่อยู่ที่ต้องการนำเข้า เป็นต้น
3. แนบสำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
4. แสดงหลักฐานเป็นเอกสารรับรองจากองค์กร องค์การ (องค์กร, องค์การที่เป็นที่เชื่อถือ และยอมรับจากทางราชการ)
สมาคม หมายถึง ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากทางราชการ
สถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา คือ พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือเลขาธิการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ลงนามรับรอง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือ
ได้ว่าจะส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรเพื่อสักการบูชา เพื่อศึกษาวิจัย เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือโบราณคดี
5. ภาพถ่ายวัตถุ ภาพสีขนาด 3 x 5 นิ้ว จำนวน 2 ภาพ/วัตถุ
6. นำวัตถุที่จะส่งออกทุกชิ้น แสดงต่อคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ ในวันที่ยื่นคำร้อง (ศก.๖) ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ 81/1 ถนนศรีอยุธยา (อาคารกรมศิลปากรใหม่) เทเวศร์ แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

ข้อแนะนำในการส่งโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร
1. กรอกเอกสารคำขอรับใบอนุญาตนำโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร(ศก.๖) พร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต ณ สำนักพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ เลขที่ 81/1 ถนนศรีอยุธยา เทเวศร์ แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
2. นำโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งออกทุกชิ้น ให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
3. เจ้าหน้าที่ทำการผูกตะกั่วประทับตราที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้นที่ต้องการส่งออก ที่อนุญาตให้ส่งออกนอกราชอาณาจักรได้
4. ระยะเวลาดำเนินการ 1 – 2 วันทำการ ผู้ขอติดต่อขอรับใบอนุญาต พร้อมชำระค่าธรรมเนียม ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
5. เจ้าหน้าที่ทำการออกบัตรประจำวัตถุ (บัตรลักษณะสีชมพู) เพื่อนำไปผูกไว้ติดกับปลายเชือกที่ประทับตราตะกั่ว บริเวณโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่ต้องการส่งออก
6. ผู้ขอต้องลงชื่อรับรองว่าจะนำบัตรประจำวัตถุ ผูกติดกับปลายเชือกตราตะกั่วที่ประทับวัตถุให้ถูกต้อง ตรงกับเลขหมายรายการในใบอนุญาต
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมศิลปากร The Fine Arts Department หรือคลิกลิงค์ http://nsw.finearts.go.th
LIDI express พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลตลอดการขนส่ง